อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง
การจัดทำแผนอัตรากำลังและการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงนั้น ได้พิจารณาสรุปรูปแบบและกำหนดแนวทางการจัดทำแผนอัตรากำลังตามแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี ประจำปี 2561 – 2564 ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ตามวิสัยทัศน์ของตำบลโนนกุงคือ“ชุมชนน่าอยู่ คนมีคุณภาพ การบริหารจัดการที่ดี มีส่วนร่วมทุกส่วน” ประกอบนโยบายการพัฒนาของผู้บริหาร มุ่งเน้นให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีระบบการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ การส่งเสริมสุขภาพการดูแลความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ การร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหาในหมู่บ้าน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมกับงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ตำบลโนนกุงเป็นเมืองที่น่าอยู่ ตลอดไป
สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของตำบลโนนกุง ได้กำหนดไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมาย
เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความสะดวกและมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านความสงบเรียบร้อย และความสงบสุขของประชาชนและด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
1.ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงถนน สะพาน ทางเท้า และท่อระบายน้ำ
และสาธารณูปโภคอื่นๆ
2.การพัฒนาไฟฟ้าและประปา
3.ก่อสร้าง ปรับปรุง แหล่งน้ำในการบริโภค-อุปโภค และเพื่อการเกษตรและปศุสัตว์
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น
4.ส่งเสริมและจัดทำผังเมือง
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและสาธารณสุข
เป้าหมาย
เพื่อเสริมสร้างทักษะของคนภายในชุมชนทั้งทางด้านจิตใจ ด้านการศึกษาด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการและสังคม ด้านกีฬา ให้มีคุณภาพและพึ่งพาตนเองได้
แนวทางการพัฒนา
1. ให้การสงเคราะห์ เด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์
2. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
3. การพัฒนาส่งเสริมสุขภาพอนามัย กีฬาและนันทนาการ
4. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3. ยุทธศาสตร์การป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอันพึงปรารถนาร่วมกันไม่ให้มีปัญหาภายในชุมชน
แนวทางการพัฒนา
1. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2. การบำบัดและจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทางเศรษฐกิจระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ให้มีความสามารถและทักษะในการพัฒนาฝีมือในการผลิตเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสามารถขยายการตลาดไปสู่ตลาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และการแปรรูปสินค้าเกษตร และยุทธศาสตร์สร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจน
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน
2. ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิต ทางการเกษตรอินทรีย์
3. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี
แนวทางการพัฒนา
1.พัฒนาส่งเสริม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ให้แก่ ประชาชน
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารงานและกิจการบ้านเมืองที่ดี
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและให้บรรจุแนวทางการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามยุทธศาสตร์การบริหารราชการให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
1. แนวทางการพัฒนาองค์กร
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และองค์กร
3. พัฒนาประสิทธิภาพ ขีดความสามารถของบุคลากรของท้องถิ่น
- รณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนตื่นตัวถึงความสำคัญของการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ ความต้องการการแก้ปัญหา ประเมินผลและตรวจสอบได้
การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติ
สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า
องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น 4 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้
1. นโยบายการพัฒนา ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย โดยการเน้นการมีคุณภาพ มาตรฐานประหยัดงบประมาณ สามารถตอบสนองความพึงพอใจของประชาชนดังต่อไปนี้
1. ก่อสร้างและปรับปรุงถนนสายหลักและถนนสายรองเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือถนนลาดยางที่ได้มาตรฐานตามความจำเป็นและเหมาะสมทุกหมู่บ้าน
2. ดำเนินการก่อสร้างถนนดินลูกรังในบริเวณพื้นที่ที่ยังไม่มีถนนเพื่อใช้ในการสัญจรและขนส่งผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างสะดวก รวดเร็วให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
3. ปรับปรุงถนนดินลูกรังเดิมที่ชำรุดเสียหายให้สามารถใช้การได้ดีในทุกฤดูกาลให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
4. เร่งรัดประสานการขยายเขตไฟฟ้า ประปาและโทรศัพท์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
5. การสร้างและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ และชลประทานโดยเพิ่มแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภคและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างประปาหมู่บ้าน รวมทั้งการขยายเขตประปา
2. นโยบายด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
1. สนับสนุน ส่งเสริม ละสงเคราะห์ เด็ก เยาวชน และสตรีที่ยากจนและด้อยโอกาสเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามอัตภาพ
2. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาด้านสุขภาพของประชาชนที่เกี่ยวกับสาธารณสุขมูลฐาน การสนับสนุนกิจกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลโนนกุง อย่างทั่วถึง
3. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาด้านสุขภาพของเด็ก เยาวชน และประชาชนเกี่ยวกับการกีฬาและนันทนาการ
4. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
3.นโยบายด้านสังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สาธารณสุขและการกีฬา
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง สนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิต และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้โดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติสร้างคนและสร้างงาน ดังนี้
1. ขยายศักยภาพในแผนงาน โครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อเป็นการพัฒนาพร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวตำบลโนนกุงให้ดีขึ้นในด้านการสังคมสงเคราะห์ให้แก่เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาสซึ่งต้องเน้นย้ำเป็นอย่างยิ่ง
2. การส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมให้เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตำบลโนนกุง เช่นงานประเพณีลอยกระทง งานประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ
3. สนับสนุนนโยบายรัฐบาล ในการป้องกันปราบปรามและบำบัดยาเสพติด รวมทั้งจัดให้มีสนามกีฬา และมีการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับหมู่บ้านและตำบล เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันรายได้ของประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาอบรมและเรียนรู้ศาสนาวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้นโดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้จะส่งเสริมสนับสนุนและอนุรักษ์ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบยั่งยืน
4. สนับสนุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่ยากจนและด้อยโอกาสและประชาชนทั่วไป
5. สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนเพื่อการศึกษาให้แก่โรงเรียนในเขตพื้นที่
6. เฝ้าระวัง ติดตาม สังเกตการณ์ และแก้ไขปัญหาโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในตำบลโนนกุง
7. ส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลโนนกุง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายในเขตตำบลโนนกุง
4.นโยบายด้านการบริหารจัดการที่ดี
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง จะส่งเสริมคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมืองและบริหารโดยหลัก
ธรรมาภิบาล ซึ่งมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีแนวนโยบายดังนี้
1. ส่งเสริมสนับสนุนการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยโดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกๆด้าน ได้แก่ การสนับสนุนประชาคมองค์กรประชาชน โดยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับผลประโยชน์ เพื่อประชาชนชาวตำบลโนนกุง
2. ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆทุกแห่งในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอันจะก่อให้เกิด ความเสียหายร้ายแรงต่อราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง
3. เพิ่มประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์แบบบูรณาการ เพื่อเป็นการสร้างภาพพจน์ สถาบันองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ประชาชนยอมรับและให้ความเชื่อถือ
4. ปรับเปลี่ยนกระบวนการ หรือวิธีการทำงาน เช่น งานบริหารงานบุคคลโดยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
5. เน้นการบริหารราชการแบบเปิดโดยเปิดโอกาส ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารกิจการบ้านเมืองมากขึ้น โดยให้ประชาชนเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็นร่วมปฏิบัติงานและตรวจสอบติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
6. สร้างแรงจูงใจและเพิ่มขวัญกำลังใจให้ข้าราชการได้เพิ่มพูนความรู้ทักษะและมีประสบการณ์ในการทำงานมากยิ่งขึ้น
7. มุ่งเน้นพัฒนาฝึกอบรมให้ข้าราชการได้เพิ่มพูนความรู้ทักษะ และมีประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
8. บริหารการคลังอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนโดยเฉพาะการรักษาวินัยทางการคลังโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
9. ซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง อาคารสำนักงานที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง รวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ในเขต อบต.โนนกุง
10. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
การจัดให้มีภารกิจทั้ง 4 ด้าน ตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วน
จะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ
การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ เช่น แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) แผนพัฒนาภาค แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 แผนพัฒนาจังหวัดแผนการบริหารราชการแผ่นดินยุทธศาสตร์ประเทศ(Country Strategy)ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ แผนพัฒนาการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแผนการพัฒนาขององค์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุบลราชธานี นโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง เป็นต้น แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตำบลตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เป็นแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ความต้องการของประชาชนเอง ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างถูกต้องตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง สำหรับแนวคิดที่สำคัญที่เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจซึ่งการพัฒนาด้านเศรษฐ์กิจเพื่อให้ประชาชนตำบลโนนกุงมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างยั้งยืน ในด้านสังคมในยุคปัจจุบันด้านสังคมมีการเหลื่อมล้ำกันองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง จึงมีนโยบายที่จะแก้ปัญหาการเหลื่อมล้ำกันในตำบลโนนกุง เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทุกระดับและในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น มีการรณรงค์และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในตำบลโนนกุง เพื่อให้มีแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง
การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่นด้วยเทคนิค SWOT
เป็นการประเมินโดยวิเคราะห์ถึงโอกาส และภาวะคุกคามหรือข้อจำกัด อันเป็นภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดเป็นการประเมินสถานภาพของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยเป็นการตอบคำถามว่า “ปัจจุบันท้องถิ่นอยู่จุดไหน” สำหรับใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดการดำเนินงานในอนาคตต่อไป ทั้งนี้โดยใช้เทคนิค SWOT analysis การพิจารณาถึงปัจจัยภายใน ได้แก่ จุดแข็ง (Strength-S) จุดอ่อน (Weak-W) และปัจจัยภายนอกได้แก่โอกาส (Opportunity-O) และอุปสรรค (Threat-T) เป็นเครื่องมือ
จุดแข็ง (Strengths -S)
1. บุคลากรมีความรับผิดชอบมีความรู้ความสามารถใน การปฏิบัติงานกันทุกตำแหน่ง
2. เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง/รู้รักสามัคคี
3. สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงบางส่วนเหมาะแก่การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์และเกษตรกรรม
4. อบต.มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
5. อบต.มีการจัดโครงสร้างภายในที่เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ
6. มีลำห้วยตุงลุง,ลำห้วยเกลี้ยง,ลำห้วยคำบง เป็นแม่น้ำสายหลักในการหล่อเลี้ยงประชาชนในการอุปโภค บริโภคและทำการเกษตร
7. การบริหารจัดการยึดหลักธรรมมาภิบาล
จุดอ่อน (Weaknesses-W)
๑. โครงการบางโครงการที่เป็นปัญหาความต้องการของประชาชนที่ต้องใช้งบประมาณสูง อบต.ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะมีงบประมาณน้อย
2. ปัญหาภัยแล้งประชาชนขาดแคลนน้ำในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้ง
๔. ประชาชนมีรายได้น้อย
๕. ประชาชนยังขาดความสนใจขาดจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖. การคมนาคมถนนยังเป็นถนนลูกรังและมีฝุ่นเป็นจำนวนมาก
๗. พื้นที่รับผิดชอบมีมากไม่สมดุลกับงบประมาณในการพัฒนา
โอกาส (Opportunities-O)
๑. พื้นที่ตำบลมีสภาพเป็นพื้นที่ราบสูงและที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม
๒. ประชาชนมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่นปลูกยางพาราปลูกมันสำปะหลังฯลฯ
๓. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีชุมชนมีความเข้มแข็ง
๔. นโยบายของรัฐบาล/จังหวัดในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบายเร่งด่วน
อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threats-T)
๑. อบต.เป็นหน่วยงานราชการท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดทุกปัญหาของประชาชนอบต.มีงบประมาณไม่เพียงพอในการพัฒนาต้องเลือกโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุดดำเนินการก่อน
๒. ประชาชนยังไม่เข้าใจบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
๓. การดำเนินการแก้ไขปัญหาในชุมชนเช่นปัญหายาเสพติดต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและประสานงานบูรณการกันจึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์
๔. ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานมีหลายขั้นตอนและไม่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างทันท่วงทีส่งผลให้การบริหารงานไม่คล่องตัวเกิดความล่าช้า
๕. ภารกิจถ่ายโอนลงมาให้ท้องถิ่นมีเป็นจำนวนมากแต่งบ
ประมาณไม่ถ่ายโอนลงมาด้วย
๖. การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลล่าช้าทำให้ระยะเวลาการ
เบิกจ่ายไม่เหมาะสมกับระยะเวลาดำเนินการ
7. โครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงหรือความชำนาญพิเศษองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงยังไม่มีความชำนาญและบุคคลากร
ภารกิจหลักและภารกิจรองที่ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงจะดำเนินการ มีดังนี้
1 ภารกิจหลัก
1.1 ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
1.2 ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
1.3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
1.4 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.5 ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร
1.6 ด้านการส่งเสริมการศึกษา
1.7 ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2. ภารกิจรอง
2.1 การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี
2.2 การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ
2.3 การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร
2.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน
สรุปปัญหาและแนวทางในการกำหนดโครงสร้างส่วนราชการและกรอบอัตรากำลัง
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 5ส่วนราชการ ได้แก่
1. สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะ รวมทั้งงานกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบงานธุรการ งานสารบรรณ งานจัดทำแผนพัฒนา การจัดทำข้อบัญญัติ งานการประชุมสภา งานการบริหารงานบุคคลของ อบต. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การสนับสนุนเกี่ยวกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
2 .กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกางานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จบำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ งบแสดงฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การจัดเก็บรายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
3. กองช่างมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนการปฏิบัติงานก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุม เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
4. กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางการศึกษา เกี่ยวกับการวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาหลักสูตร การแนะแนว การวัดผล ประเมินผล การพัฒนาตำราเรียน การวางแผนการศึกษา ของมาตาฐานการศึกษา การจัดบริการส่งเสริมการศึกษา การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษา ส่งเสริมการวิจัย การวางโครงการ สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติทางการศึกษา เพื่อนำไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางการปฏิบัติในการจัดการศึกษา การเผยแพร่การศึกษาและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
5. กองสวัสดิการสังคม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม สังคมสงเคราะห์ และงานส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มอาชีพและพัฒนาสตรีและงานอื่นๆ เกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการสังคม งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ งานส่งเสริมและให้คำปรึกษาการฌาปนกิจสงเคราะห์ งานส่งเสริมและให้คำปรึกษากองทุนหมู่บ้าน งานส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลและหมู่บ้าน งานส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทหน้าที่และสิทธิสตรี
ดังนั้น ในปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง จึงไม่มีความจำเป็นในการขอกำหนดตำแหน่งขึ้นหรือกำหนดส่วนราชการขึ้นใหม่ แต่อาจจะมีการกำหนดส่วนราชการที่จำเป็นขึ้นใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อรองรับภารกิจที่อาจขยายและเพิ่มมากขึ้นในอนาคตซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการถ่ายโอน
ภารกิจมาจากส่วนกลางต่อไป ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง ได้วิเคราะห์ปริมาณค่างานในแต่ละงานและแต่ตำแหน่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงแล้ว และได้ทำการเปรียบเทียบอัตรากำลังขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในกลุ่ม/ขนาดเดียวกัน ซึ่งผลการเปรียบเทียบของพนักงานส่วนตำบลยังมีจำนวนอัตรากำลังที่เหมาะสมกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง และพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง ยังมีจำนวนอัตราที่มีความเหมาะสมต่อการปฏิบัติภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงเช่นกันหากเปรียบเทียบในส่วนงบประมาณในการบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง มีงบประมาณรายจ่ายที่ค่อนข้างได้เปรียบกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงกัน อีกทั้งจำนวนประชากรและจำนวนหมู่บ้านในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงมีค่อนข้างมากกว่า โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ชื่อ อบต. |
จำนวนส่วนราชการ |
อัตรากำลังคน |
งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 |
จำนวนหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร(คน) |
||
ข้าราชการ |
ลูกจ้างประจำ |
พนักงานจ้าง |
|||||
โนนกุง |
5 |
21 |
1 |
18 |
33,000,000 |
12 |
11,054 |
ท่าหลวง |
5 |
18 |
0 |
15 |
25,200,000 |
9 |
3,653 |
ห้วยฝ้ายฯ |
5 |
16 |
1 |
19 |
3,2142,067 |
12 |
5,685 |
บทวิเคราะห์ประเมินการต้องการกำลังคน
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุงได้จัดทำการวิเคราะห์ปริมาณงาน โดยการเก็บสถิติปริมาณงานที่เกิดขึ้นของแต่ละส่วนราชการที่มีผลการดำเนินการประจำปี ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลังคนในแต่ละประเภทตำแหน่ง เพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจที่มีอยู่ในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
ลำดับ |
ตำแหน่ง |
ประเภท/สายงาน |
ระดับ |
จำนวน |
|||||||||||||
1. |
นักบริหารงานท้องถิ่น (ปลัด อบต.) |
บริหารท้องถิ่น |
ระดับกลาง |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
2 |
นักบริหารงานท้องถิ่น (รองปลัด อบต.) |
บริหารท้องถิ่น |
ระดับต้น |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
รวมทั้งสิ้น |
จำนวน |
2 |
อัตรา |
||||||||||||||
|
สำนักงานปลัด อบต. |
|
|
|
|
|
|||||||||||
1. |
นักบริหารงานทั่วไป (หัวหน้าสำนักปลัด) |
อำนวยการท้องถิ่น |
ระดับต้น |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
2. |
นักทรัพยากรบุคคล |
วิชาการ |
ปก./ชก. |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
3. |
เจ้าพนักงานธุรการ |
ทั่วไป |
ปง./ชง |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
4 |
เจ้าพนักงารธุรการ |
ทั่วไป |
ปง/ชง |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
|
|
|
|
|
|
||||||||||||
|
พนักงานจ้าง |
|
|
|
|
|
|||||||||||
1. |
ผู้ช่วยนักทรัพยากรบุคคล |
ภารกิจตามคุณวุฒิ |
|
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
2. |
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ฯ |
ภารกิจตามคุณวุฒิ |
|
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
3. |
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ |
ภารกิจตามคุณวุฒิ |
|
จำนวน |
2 |
อัตรา |
|||||||||||
4. |
ผู้ช่วยป้องกันฯ |
ภารกิจตามคุณวุฒิ |
|
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
5. |
พนักงานขับรถยนต์ |
ทั่วไป |
|
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
6. |
นักการภารโรง |
ทั่วไป |
|
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|||||||||||
รวมทั้งสิ้น |
จำนวน |
13 |
อัตรา |
||||||||||||||
|
|
|
|
||||||||||||||
|
กองคลัง |
|
|
|
|
|
|||||||||||
1. |
นักบริหารงานการคลัง (ผู้อำนวยการกองคลัง) |
อำนวยการท้องถิ่น |
ระดับต้น |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
2. |
นักวิชาการพัสดุ |
วิชาการ |
ปก./ชก. |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
3. |
นักวิชาการจัดเก็บรายได้ |
วิชาการ |
ปก./ชก |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
|
ลูกจ้างประจำ |
|
|
|
|
|
|||||||||||
1. |
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี |
กลุ่มสนันสนุน |
|
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|||||||||||
|
พนักงานจ้าง |
|
|
|
|
|
|||||||||||
1. 2. |
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก้บรายได้ |
ภารกิจ ภารกิจ |
|
จำนวน จำนวน |
1 1 |
อัตรา อัตรา
|
|||||||||||
รวมทั้งสิ้น |
จำนวน |
6 |
อัตรา |
||||||||||||||
|
กองช่าง |
|
|
|
|
|
|
||||||||||
1. |
นักบริหารงานช่าง (ผู้อำนวยการกองช่าง) |
อำนวยการท้องถิ่น |
ระดับต้น |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|
||||||||||
2. |
นายช่างโยธา |
ทั่วไป |
ปง./ชง. |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|
||||||||||
3. |
เจ้าพนักงานธุรการ |
ทั่วไป |
ปง./ชง |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|
||||||||||
|
|
|
|
|
|
||||||||||||
ลำดับ |
ตำแหน่ง |
ประเภท/สายงาน |
ระดับ |
จำนวน |
||
|
กองช่าง |
|
|
|
|
|
|
พนักงานจ้าง |
|
|
|
|
|
1. |
ผู้ช่วยนายช่างโยธา |
ภารกิจ(คุณวุฒิ) |
|
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|
|
|
|
|
|
|
รวมทั้งสิ้น |
จำนวน |
4 |
อัตรา |
|||
|
กองการศึกษา |
|
|
|
|
|
1. |
นักบริหารงานการศึกษา (ผู้อำนวยการกองการศึกษา) |
อำนวยการท้องถิ่น |
ระดับต้น |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
2. |
นักวิชาการศึกษา |
วิชาการ |
ปก/ชก |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
3. |
ครู |
สายงานการสอน |
คศ.1 |
จำนวน |
6 |
อัตรา |
|
พนักงานจ้าง |
|
|
|
|
|
1. 2. |
ปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็ก ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ |
ภารกิจ ภารกิจ |
|
จำนวน จำนวน |
5 1 |
อัตรา อัตรา
|
3. |
คนงานทั่วไป |
ทั่วไป |
|
จำนวน |
2 |
อัตรา |
|
รวมทั้งสิ้น |
|
|
จำนวน |
16 |
อัตรา |
|
กองสวัสดิการสังคม |
|
|
|
|
|
1. |
นักบริหารงานสวัสดิการสังคม (ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม |
อำนวยการท้องถิ่น |
ระดับต้น |
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|
|
|
|
|
|
|
|
รวมทั้งสิ้น |
|
|
จำนวน |
1 |
อัตรา |
|
|
|
|
|
|
|
|
รวมอัตรากำลังทั้งสิ้น |
|
|
จำนวน |
41 |
อัตรา |
สรุป องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง มีความต้องการกำลังคนเพื่อปฏิบัติภารกิจ โครงการ กิจกรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกุง โดยสามารถแยกประเภทตำแหน่ง ระดับ จำนวน ได้ดังนี้
ลำดับที่ |
ประเภท/สายงาน |
ระดับ |
จำนวนอัตรากำลังคนที่ต้องการ (อัตรา) |
1 |
บริหารท้องถิ่น |
กลาง |
1 |
2 |
บริหารท้องถิ่น |
ต้น |
1 |
3 |
อำนวยการท้องถิ่น |
ต้น |
5 |
4 |
วิชาการ |
ปก/ชก |
4 |
5 |
ทั่วไป |
ปง/ชง |
4 |
6 |
สายงานการสอน |
คศ.1 |
6 |
7 |
ลูกจ้างประจำ |
กลุ่มสนับสนุน |
1 |
8 |
พนักงานจ้าง (ภารกิจ) |
คุณวุฒิ |
14 |
9 |
พนักงานจ้าง |
ทั่วไป |
4 |
|
|
|
|